การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

   

4.2.1  กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ  ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ  เช่น  ถนน  เขื่อนชลประทาน  ฝายกั้นน้ำ  เป็นต้น  แร่ในกลุ่มนี้ได้แก่  หินปูน  ยิปซัม  และทรายก่อสร้าง

ยิปซัม

 

หินปูน

 

4.2.2  กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม  ใช้เป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิตต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายสาขา  เช่น  อุตสาหกรรมอาหาร  ยา  อุตสาหกรรมกระดาษ  อุตสาหกรรมสี  พลาสติก  อุตสาหกรรมหล่อโลหะ  อุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว  แร่ในกลุ่มนี้  ได้แก่  ดีบุก   ทังสเตน  พลวง  แบไรต์   ดินขาว  บอลเคลย์   เฟลด์สปาร์  และทรายแก้ว


ดีบุก

 

แบไรต์

4.2.3  กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร  ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตปุ๋ย  ปรับปรุงคุณภาพดิน  แร่กลุ่มนี้คือ  โดโลไมต์

                 ปูนโดโลไมต์ถูกกว่าปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ อย่างไรก็ตามการใช้ปูนโดโลไมต์ควรมีการตรวจวัดค่าพีเอชของดินก่อนว่าดินมีความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะช่วยให้การใช้ปูนโดโลไมต์มีเหมาะสมมากขึ้น แถบภาคใต้ส่วนใหญ่มีฝนตกชุกมากกว่าจังหวัดอื่นของไทย ซึ่งฝนที่ตกมากทำให้ดินเป็นกรดและมีการชะล้างผิวดินสูง จึงแนะนำให้ใส่ปูนโดโลไมต์อย่างต่อเนื่องทุกปี หากบริเวณที่ดินมีความเป็นด่างอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปูนโดโลไมต์เพื่อปรับค่ากรด-ด่างของดิน ให้ใส่อินทรียวัตถุ และใช้ปูนหินฟอสเฟตเพื่อเป็นแหล่งของแคลเซียม และใส่กลีเซอร์ไรท์เพื่อเป็นแหล่งของแมกนีเซียมแทน

โดโลไมต์

 

4.2.4  กลุ่มแร่พลังงาน   ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานความร้อนไม่สูงนัก แร่กลุ่มนี้  คือ  ถ่านหิน  แก๊สธรรมชาติ

  • โรงไฟฟ้าและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ  อำเภอขนอมของ (ปตท.) จังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องตอบสนองความต้องการพลังงาน เช่น ก๊าชหุงต้ม (LPG) โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศในทันทีที่สร้างเสร็จ และก๊าซโซลีนธรรมชาติเพื่อส่งต่อไปยังโรงกลั่นน้ำมัน และทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันตามมา โดยส่วนใหญ่ก๊าซชนิดนี้จะส่งต่อขายยังต่างประเทศ ยังทำให้ (ปตท.)  สามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ทางเรือไปยังคลังก๊าซฯ ที่สุราษฏร์ธานีและขลาได้สะดวกขึ้น และเพิ่มความสะดวกต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศอีกด้วย
  • แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเอราวัณและแหล่งข้างเคียงนั้น อยู่ในแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13  โดยมี บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน และเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) โดยเอราวัณไม่เพียงเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติเชิงพาณิชย์แห่งแรกในอ่าวไทย แต่ยังได้ชื่อว่าเป็นฮับการผลิตก๊าซธรรมชาติของเชฟรอนและของอ่าวไทย เพราะผลิตก๊าซตามสัญญาได้ในปริมาณสูงที่สุด มากกว่าทุกแหล่งที่มีอยู่ คือประมาณ 1,280 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ

                   แท่นผลิตกลางของเอราวัณ หรือ  Erawan Complex ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 145 กิโลเมตร ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตทั้งหมด โดยมีบุคลากรคนไทยเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบระบบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานและการรักษาความปลอดภัย

ก๊าซธรรมชาติ

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช