แหล่งทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญในจังหวัดนครศรีธรรมราช

   

1.3 แหล่งทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญในจังหวัดนครศรีธรรมราช

                  1.3.1 อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีพื้นที่ 356,250 ไร่  ครอบคลุมเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวเหนือจรดใต้ขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีที่ราบตามหุบเขาเล็กน้อยดินบนภูเขาเป็นดินที่เกิดจากการผุสลายของหินแกรนิตมียอดเขาสูงสุดคือยอดเขาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้สูงจากระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง คลองกรุงชิง คลองเขาแก้ว คลองท่าแพ คลองระแนะ และคลองละอาย อันเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาหลวง อุทยานแห่งชาติเขาหลวงมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่      อำเภอลานสกา อำเภอฉวาง อำเภอเมือง อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรี อำเภอช้างกลาง และอำเภอนบพิตำ            จังหวัดนครศรีธรรมราช

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง

           1) พืชพรรณ

               พืชพรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชป่าดงดิบ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

               1.1) ป่าดิบเขา เป็นป่าที่ขึ้นอยู่เหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป จนถึงยอดเขาที่มีเมฆหมอกคลุม พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เหมือด กำยาน แดงเขา ก่อเขา บุญนาคเขา จำปูนช้าง ฯลฯ พืชคลุมดินส่วนใหญ่คล้ายป่าดิบเขาระดับต่ำแต่จะมีพืชหญ้าขึ้นมาก ได้แก่ บัวแฉกใบใหญ่บัวแฉกใบมน หวายเหิง หวายแซ่ม้า หวายเขา เป็นต้น

               1.2) ป่าดงดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมดพืชประจำถิ่นและไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง ไข่เขียว ตะเคียนทราย สยาขาว กระบากดำ กระบากขาว พันจำ หลุมพอ เอียน เชียด อบเชย เทพทาโร จำปาป่า ก่อ แดงคาน แดงเขา ยมป่า ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีกุหลาบพันปีกุหลาบเขาหลวง เต่าร้างยักษ์ หวายหอม หวายไม้เท้า ไผ่เกรียบ ก้ามกุ้งหลายชนิด และมหาสดำ ซึ่งเป็นเฟินต้นประจำถิ่นของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นต้น

             2) สัตว์ป่า

                 ผลของการสำรวจชนิดและประชากรสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เมื่อปี 2534 พบว่า อุทยานแห่งชาติเขาหลวงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 327 ชนิดสัตว์ป่า ที่พบเห็น เช่น สมเสร็จ เลียงผา ลิงกัง  ลิงเสน ค่างดำ ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะนีธรรมดา เสือลายเมฆ เสือดำ เสือโคร่ง หมีหมา เก้ง กวางป่า เม่นหางพวง สัตว์จำพวกนก เช่น นกอินทรีดำ ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกหว้า นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ

นกกก นกชนหิน นกโพระดกหลากสี นกพญาปากกว้างท้องแดง และนกกินปลี ฯลฯ

 

นกชนหิน

                 นอกจากนี้ในบริเวณเขาหลวงยังพบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่หายาก หลายชนิด เช่น งูลายสายมลายู เต่าจักร งูหลามปากเป็ด งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง จิ้งจกนิ้วยาวกำพล ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด จิ้งเหลนเรียวปักษ์ใต้ งูเขียวดงลาย กบเขาท้องลาย กบตะนาวศรี เขียด งูศุภชัย เป็นต้น ในบริเวณแหล่งต้นน้ำ ลำธารของอุทยานแห่งชาติเขาหลวงจะพบสัตว์น้ำในปริมาณน้อย ได้แก่ ปลาพลวง ปลาแฮะ ปลาไส้ขม ปลาซิวน้ำตก ปลาอีกอง ปลาติดหินปูนน้ำตก เป็นต้น เนื่องจากมีกระแสนน้ำไหลแรง ปริมาณสารอาหารในน้ำมีน้อย พื้นน้ำเป็นหินและทรายไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ

                1.3.2 อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

                       อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีพื้นที่ 128,125 ไร่ หรือ 205 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ป่า

ในเขตอำเภอช้างกลาง อำเภอลานสกา อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยทิวทัศน์และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่งด้วยกัน เช่น ยอดเขาเหมน ยอดเขารามโรม น้ำตกโยง น้ำตกปลิว น้ำตกคลองจัง น้ำตกหนานเตย น้ำตกหนานปลิว น้ำตกหนานตากผ้า น้ำตกหนานโจน น้ำตกคูหาสวรรค์เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจศึกษาหาความรู้ทั้งยังเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญมียอดเขาเหมนเป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูง 1,235 เมตร จากระดับน้ำทะเล

 อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

                    1) พืชพรรณ

                        พืชพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ดังนี้

                        1.1) ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าและมีขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง นาคบุตร กระบาก เสียดช่อ เลือดนก ขนุนปาน จำปา พิกุลป่า ก่อ รักเขา กระท้อน สะตอ เหรียง ฯลฯ พืชพื้นล่างมีจำพวก เฟินต้น ชนิดต่าง ๆ พืชตระกูล ขิงข่า ไม้เลื้อย และเถาวัลย์ ขึ้นเกาะตามไม้ใหญ่มากมาย

                        1.2) ป่าดิบเขา เป็นป่าที่มีความโปร่งกว่าป่าดิบชื้นอยู่ในระดับความสูง 800 เมตร ขึ้นไป เนื่องจากมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่น้อย พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ก่อตาหมู ก่อนก ก่อเดือย ก่อแป้น พืชพื้นล่างที่พบได้แก่ มังเรเฟิน มอส กล้วยไม้ดิน เป็นต้น

                    2) สัตว์ป่า

                        สัตว์ป่าที่สำรวจพบในป่าเขาบริเวณนี้ที่สำคัญ เช่น เสือดำ เลียงผา สมเสร็จ หมูป่าเก้ง กระจงอีเห็น ชะมด ลิงเสน ค่าง ชะนี กระรอก เม่น นกหว้า นกยูงเหยี่ยวไก่ป่า นกเขาเปล้า นกเงือก นกขมิ้น นกกางเขนดง นกแซงแววหางปลา นกปรอดหัวโขน ตะพาบน้ำ ตะกวด กิ้งก่า จิ้งเหลน งูกะปะ กบ เขียด คางคก ปลาแงะ ปลาซิว ปลากระทิง ปลาชะโด ปูน้ำตก ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืนและแมลงปีกแข็งต่าง ๆ

 

                 1.3.3 อุทยานแห่งชาติเขานัน

                         มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวตามแนวเหนือ - ใต้สลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 256,121 ไร่ หรือ 409.79 ตารางกิโลเมตร สภาพป่าเป็นป่าดงดิบชื้น ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ และมีค่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกสุนันทา(น้ำตกเขานัน) น้ำตกกรุงนาง น้ำตกคลองเผียน ถ้ำกรุงนาง น้ำตกเขาใด เป็นต้น โดยมียอดสูงที่สุดคือ ยอดเขาใหญ่ โดยสูงประมาณ 1,438 เมตร จากระดับน้ำทะเล

 

น้ำตกสุนันทา อุทยานแห่งชาติเขานัน

                    1) พืชพรรณ

                        พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ครอบคลุมกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าหลายชนิด เช่น ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง ไข่เขียว ตะเคียนทราย เสียดช่อ และจำปาป่า เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ป่าบริเวณบ้านทับน้ำเต้า บ้านหน้าพระเจ้า บ้านห้วยพริก และบ้านห้วยแห้ง จะพบไม้ประ (Elaleriospermum tapos Bl.) ซึ่งเป็นไม้ที่นิยม เก็บเมล็ดมารับประทาน และเมล็ดดังกล่าวมีราคาสูง

                    2) สัตว์ป่า

                        อุทยานแห่งชาติเขานัน มีสัตว์ป่านานาชนิดเช่น เลียงผา สมเสร็จ เก้ง หมูป่า กระจง อีเห็น ชะมด นอกจากนี้ยังมีนกมากกว่า 150 ชนิด ซึ่งรวมถึงนกขนาดใหญ่อย่างนกกก และนกเฉพาะถิ่นที่พบบนทิวเขานครศรีธรรมราช คือ นกกินปลีหางยางเขียว

นกกินปลีหางยาวเขียว

                    1.3.4 อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด

                           อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด มีพื้นที่ประมาณ 90,625 ไร่หรือ 145 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่่ในแนวทิวเขานครศรีธรรมราชที่สูงชันสลับซับซ้อน ในเขตอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชและอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทือกเขา แนวแบ่งเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ - ใต้ เป็นแนวยาวขนานกับฝั่งทะเลตะวันออก ตอนกลางเป็นเทือกเขาที่สูงชันสลับซับซ้อน มีลักษณะเป็นสันปันน้ำ  โดยลาดต่ำไปทางตะวันออกและทางตะวันตก ที่ราบส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออก พื้นที่นี้มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาคีโหมดสูง 1,303 เมตร ยอดเขาอื่น ๆ เช่น ยอดเขานางสูง 881 เมตร ยอดเขาวังพุง             สูง 600 เมตร ยอดเขาปลายครามสูง 599 เมตร ยอดเขาขุนห้วยแก้ว สูง 582 เมตร ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลปานกลางโดยเฉลี่ยประมาณ 700 เมตร มีหุบเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยต่าง ๆมากมาย ซึ่งทำให้เกิดแอ่งน้ำและน้ำตกเป็นชั้น ๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ มีเขาบางลูกเป็นภูเขาหินปูน จึงเกิดถ้ำที่สวยงามน่าพิศวงมากมายหลายแห่ง เช่น ถ้ำเขาพับผ้า ถ้ำสวนปราง เป็นต้น

 อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด

 

 ถ้ำสวนปราง

                    1) พืชพรรณ

                        พืชพรรณในอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด มีลักษณะของป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ มีพันธุ์พืชหลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ดังนี้

                        1.1) ป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติโดยมากจะพบตามหุบเขาและริมห้วยที่มีความชื้นสูง พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ ยางปาย ยางแดง ตะเคียนทอง ตะเคียนทราย หลุมพอ ไข่เขียว พญาไม้ก่อเล็ก เต่าร้างยักษ์ชก ฯลฯ พืชพื้นล่างและไม้เถา ได้แก่ มหาสดำ หวายกำพวน หวายเทิง หวายขี้เสี้ยน เตยย่าน เปื่อย คอกิ่วย่าน เป็นต้น

                        1.2) ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่มีเมฆหมอกปกคลุมทำให้มีอากาศชื้นเสมอ พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ เหมือด กำยาน หัวเต่า ติ่ง แดงเขา ก่อเขา ก่อใบเอียด ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างเป็นพวกตาเป็ดตาไก่ เคลง เนียม หวายแส้ม้า หวายเขา ดาวสามแฉก กล้วยไม้ดิน ชนิดต่างๆเป็นต้น

                        1.3) ป่ารุ่นหรือป่าเหล่า เป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นทดแทนสภาพธรรมชาติเดิมภายหลังการถูกบุกรุกทำลาย พันธุ์ไม้ที่สำคัญประกอบด้วยไม้เบิกน้ำ ได้แก่ สอยดาว ปอหูช้างกะลอขน ล่อ พังแหรใหญ่ ทุ้งฟ้า เป็นต้น

                    2) สัตว์ป่า

                        เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า จำนวน 327 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบ 100 ชนิด ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า สมเสร็จ เสือไฟ เก้ง ลิงเสน ชะนีธรรมดา ค่างแว่นถิ่นใต้ เสือลายเมฆ หมูป่าอ้นใหญ่ เม่นใหญ่ แผงคอ พังพอนเหลือง หมูหริ่ง ชะมดเช็ด อีเห็นธรรมดา พังพอนธรรมดา กระแตธรรมดา พญากระรอกตำ กระรอกข้างลายท้องแดง ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก ค้างคาวบัวฟันกลม หนูฟานเล็ก ฯลฯ

                        2.1) นก พบทั้งสิ้น 157 ชนิดเป็นนกประจำถิ่น 143 ชนิดและเป็นนกอพยพย้ายถิ่น 14 ชนิด ได้แก่  นกเหยี่ยวรุ้ง ไก่ป่า นกเขาเขียว นกบั้งรอกใหญ่ นกเค้ากู่ นกจาบคาหัวสีส้ม นกแก๊ก นกแอ่นฟ้าเคราขาว     นกพญาไฟใหญ่ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกจาบดินอกลาย นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล           นกกางเขนดง นกกระจิบคอดำ นกจับแมลงคอสีน้ำตาลแดง นกกินปลีกล้วยเล็ก นกกาฝากอกเพลิง และนกกะติ๊ด

ตะโพกขาว ฯลฯ

                        2.2) สัตว์เลื้อยคลาน พบจำนวน 39 ชนิด ได้แก่ เต่าจักร ตะพาบแก้มแดง ตุ๊กแกป่าลายจุด จิ้งจกหางหนาม กิ้งก่าบินปีกสีส้ม เห่าช้าง เหี้ย จิ้งเหลนดินจุดดำ งูสิงหางดำ งูเขียวหัวจิ้งจก งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง ฯลฯ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบ 11 ชนิดได้แก่ อึ่งกรายหัวมน อึ่งอ่างบ้าน กบตะนาวศรี กบทูด เขียดตะปาด เขียดงูศุภชัย เป็นต้น

                        2.3) สัตว์น้ำ พบปลา 18 ชนิด ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ปลาพลวง ปลาแฮะ ปลาซิวน้ำตก ปลาเลียหิน ปลาติดหิน และปลาอีกอง นอกจากนี้ยังพบ ปูน้ำตกบริเวณน้ำตกสี่ขีด 2 ชนิดด้วยกัน คือ ปูมดแดง (Phricotelphusa limula) และ ปูน้ำตก (Salangathelphusa brevimarginata)

 

                 1.3.5 อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้

                         อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู ่ในการดำเนินการเพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย อุทยานแห่งชาติหาดขนอม – หมู่เกาะทะเลใต้ อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยพื้นที่ทางบกและทางทะเลรวมกัน มีเนื้อที่ประมาณ 197,500 ไร่ หรือประมาณ 316 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทางบกประมาณ 116.74 ตารางกิโลเมตร หรือ 36.94% และเป็นพื้นน้ำประมาณ 199.26 ตารางกิโลเมตร หรือ 63.06% พื้นที่ทางบกประกอบด้วย แนวเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ มีพื้นที่ราบผืนใหญ่ เชิงภูเขาเปิดสู่ฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มียอดเขาหลวงเป็นจุดสูงที่สุดประมาณ 814 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ทางทะเลประกอบด้วยเกาะ จำนวน 11 เกาะ ได้แก่ เกาะแตน เกาะราบ เกาะมัดโกง เกาะมัดแตง เกาะวังนอก เกาะวังใน เกาะมัดสุ่ม เกาะราใหญ่ เกาะท่าไร่ เกาะผีและเกาะน้อย อุทยานแห่งชาติหาดขนอม - หมู่เกาะทะเลใต้ ประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ได้แก่

อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้

                    1) พืชพรรณ

                        1.1) ป่าดิบชื้น พบในพื้นที่เทือกเขาสูงบริเวณป่าคลองธง ป่าคลองเหลง ป่าชัยคราม ป่าวัดประดู่และบางส่วนของป่าเขาออก ป่าเขาท้องโหนดและป่าเขาชัยสน พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ ยาง ตะเคียน หลุมพอไข่เขียว กันเกรา พืชพื้นล่างประกอบด้วย ไผ่ หวาย ระกำ เต่าร้าง ตลอดจนพืชที่อาศัยตามลำต้นหรือเรือนยอดของไม้ขนาดใหญ่ เช่น กล้วยไม้ มอส เฟิน และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ

                        1.2) ป่าดิบแล้ง พบบริเวณไหล่เขาตามร่องน้ำที่มีเนื้อดินเป็นชั้นบางของป่าเขาท้องโหนด ป่าเขาชัยสน และตามเกาะต่าง ๆ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ตะเคียนหิน พลองใบใหญ่ หัวค่าง จิกเขา ชะมังและขี้แรด ฯลฯ

                        1.3) ป่าชายเลน พบในป่าเลนคลองขนอม พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสม ตะบูน ลำพู ลำแพน ถั่วดำ ถั่วขาว ฯลฯ และ ป่าชายหาด พบบริเวณชายหาดบนเกาะต่าง ๆพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่  หูกวาง สนทะเล หยีทะเล จิกทะเล และรักทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบพื้นที่ป่าซึ่งมีลักษณะเป็นป่าพรุในพื้นที่ซึ่งอยู่บริเวณตอนบนของป่าเลนคลองขนอมและในพื้นที่เกาะวังนอก

                        1.4) ป่าเขาหินปูน บริเวณเขาหินปูนที่มีชั้นดินน้อยมากยากต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ สำหรับพืชที่พบเป็นพวกเป้งและว่านสบู่ดำ พืชสำคัญ ได้แก่ จันทน์ผา เป้ง สลัดได พลับพลึง บุก เชียด และยอป่า

                    2) สัตว์ป่า

                        พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด จำแนกได้ดังนี้

                        2.1) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบประมาณ 18 ชนิด เช่น กวางป่า หมูป่า ลิง ค่าง หมาใน บาง ชะนีกระรอก กระแต และพบว่ามีสัตว์ป่าสงวน อย่างน้อย2ชนิดคือเลียงผาและสมเสร็จ อยู่ในบริเวณพื้นที่ด้วยและยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในน้ำ ได้แก่ โลมา

 โลมาสีชมพู

                        2.2) นก พบประมาณ 140 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยนก ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่ทางบกและพื้นที่ทางทะเล เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกออก นกเงือก นกเปล้า นกขุนทอง นกดุเหว่า เป็นต้น และบริเวณเกาะต่าง ๆ มีนกกาน้ำ นกชาปิไหน นกนางนวล เป็นต้น

                        2.3) สัตว์เลื้อยคลาน พบประมาณ 14ชนิด ประกอบด้วยเต่าตะพาบน้ำ ซึ่งอาศัยอยู่ในลำห้วย ลำคลอง กิ้งก่า ตุ๊กแก แย้ตะกวด งูชนิดต่าง ๆ เช่น งูเหลือม นอกจากนี้บริเวณเกาะต่าง ๆ มีรายงานว่ามีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เป็นจำนวนมากในอดีต

                        2.4) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบว่า มีกบและเขียดชนิดต่าง ๆ

                        2.5) ปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ประกอบด้วย ปลาน้ำจืดและปลาทะเลชนิดต่างๆ หอย กุ้ง ปลิงทะเล ปะการังสมอง ปะการังเขากวาง ปะการังจาน และดอกไม้ทะเล เป็นต้น

 

                 1.3.6 อุทยานแห่งชาติเขาปู่ - เขาย่า

                         อุทยานแห่งชาติเขาปู่ - เขาย่า มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอทุ่งสง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอรัษฎา  อำเภอห้วยยอด อำเภอเมือง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และอำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดสลับซับซ้อน    ปกคลุมด้วยป่าดงดิบชื้นเขียว สะพรั่งทุกฤดูกาล จนได้รับสมญานามว่า “ป่าพรหมจรรย์”สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด มีภูเขาสูงสลับซับซ้อนมากมายที่วางตัวตามแนวเหนือ - ใต้ประกอบด้วยภูเขาบรรทัด ภูเขานครศรีธรรมราช เขาปู่ – เขาย่า เขาป้าแหร้ เขาสามร้อยยอด เขาวัดถ้ำ เขาพระยากรุงจีน เขาป่าโฮ้ง มีเขาหินแท่นเป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูงประมาณ 877 เมตรจากระดับน้ำทะเลพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่ – เขาย่า เป็นต้นแม่น้ำตรังและแม่น้ำปากพนัง โดยในฝั่งจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งกำเนิดคลองลาไม คลองไม้เสียบ คลองน้ำใส ซึ่งจะไหลรวมเป็นคลองชะอวดและแม่น้ำปากพนังส่วนในฝั่งจังหวัดตรังเป็นต้นกำเนิดของคลองลำภูรา คลองละมอ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่น้ำตรัง

 ถ้ำวังนายพุฒ เขาปู่เขาย่า

                    1) พืชพรรณ

                        สภาพสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติเขาปู่- เขาย่าส่วนใหญ่มีสภาพเป็นสังคมพืชป่าดิบชื้นพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ตะเคียนทอง หลุมพอ ยาง กระบาก จำปาป่า พิกุล ไข่เขียว นาคบุตร พญาไม้ หลาวชะโอน ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ช้างร้องไห้หวาย กล้วยไม้ป่า สมุนไพร และว่านชนิดต่าง ๆ

                    2) สัตว์ป่า

                        เนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เทือกเขาบรรทัด  จึงมีสัตว์ป่าอพยพไปมาอยู่เสมอ จากการสำรวจชนิดของสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติพบสัตว์ ประเภทต่างๆประกอบด้วย

                       2.1) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประมาณ 60ชนิดเช่น เลียงผาสมเสร็จ หมีคน เสือปลา เก้ง กระจงควาย ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะมดแปลงลายแถบ หมาไม้ หนูผีจิ๋ว อีเห็นลายพาด พญากระรอกเหลือง พญากระรอกดำ ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน ค้างคาวปีกถุงเคราดำ ฯลฯ นก พบประมาณ 286 ชนิดเช่น นกยางไฟหัวสีเทา นกคัดคูสีทองแดง นกบั้งรอกปากแดง นกกะเต็นแดง นกเงือกหัวหงอน นกจอกป่าหัวโต นกพญาปากกว้างเล็ก นกขมิ้นน้อยสีเขียว นกจาบดินหัวดำ นกกระจิบกระหม่อมแดง นกจับแมลงสีส้ม นกกินปลีกล้วยปากยาว นกกาฝากสีเลือดหมูฯลฯ

                       2.2) สัตว์เลื้อยคลาน พบประมาณ 67 ชนิด เช่น เต่าจักร ตะพาบน้ำ เห่าช้าง ตุ๊ดตู่ ตะกวด เหี้ย จิ้งเหลนน้อยหางยาว กิ้งก่าบินหัวสีฟ้า ตุ๊กแกป่าใต้ งูดินมลายู งูเห่าทองพ่นพิษ งูคงคาทอง งูใบ้ ฯลฯ

                        2.3) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สำรวจพบ กบหงอนมลายู กบชะง่อนหินเมืองใต้ กบเขาหลังตอง   

กบตะนาวศรี กบว้าก อึ่งกรายลายจุด อึ่งกรายหัวแหลม อึ่งกรายมลายู คางคกแคระ กบหนอง เขียดบัว เป็นต้น

                       2.4) ปลา ในบริเวณแหล่งน้ำพบ ประมาณ 15 ชนิด ได้แก่ ปลาตูหนา ปลามัด ปลาหวด ปลาหลด ปลาซิวควาย ปลาซิวใบไผ่ ปลาอีกอง และปลาชะโอนถ้ำ เป็นต้น

                       2.5) แมลง ประมาณ 70 ชนิด เช่น ผึ้งหลวง ด้วงดีดหนวดไผ่ ด้วงกว่างห้าเขา จักจั่นงวงมวนแดง ผีเสื้อพ่อมด ผีเสื้อหางติ่งอิศวร ผีเสื้อดาราไพรปักษ์ใต้ ผีเสื้อเจ้าป่า ผีเสื้อกระทกรกสีคล้ำ ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้     เป็นต้น

 

                 1.3.7 ป่าพรุควนเคร็ง

                         ป่าพรุควนเคร็งมีพื้นที่ในเขตอำเภอเชียรใหญ่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอร่อนพิบูลย์อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตรอยต่อระหว่างลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1แสนไร่ แต่ถ้ารวมพื้นที่ระดับภูมิทัศน์แล้ว พรุควนเคร็งมีพื้นที่กว่า 4 แสนไร่ ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ซึ่งฟื้นสภาพจากพื้นที่พรุ ที่ถูกคุกคามด้วยไฟป่าและการบุกรุก พรรณไม้ดั้งเดิมถูกทดแทนด้วยไม้เสม็ดขาว และไม้พื้นล่างกระจูด กกปรือ เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญในชั้นพรุที่อินทรียวัตถุยังไม่สลายตัวอย่างสมบูรณ์

ป่าพรุควนเคร็ง

                    1) พืชพรรณ

                        พรรณไม้ในพื้นที่ป่าพรุ เช่น เสม็ดเสม็ดขาว หยีน้ำ กระทุ่ม คุระอินทนิลน้ำ  ตีนเป็ดน้ำ ทองหลางน้ำหว้า เป็นต้น พืชพื้นล่าง เช่น กก กระจูด  กระจูดหนูเตยทะเล ปรงทะเล ลำเพ็ง หญ้ายุง บัว ปรง และไม้เลื่อย เช่น ย่านลิเภา

                    2) การใช้ประโยชน์

                       2.1) ประมง บริเวณพื้นที่พรุเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญเพื่อการยังชีพและการค้าของชุมชน

                       2.2) ป่าไม้ประชาชนในพื้นที่ใช้ไม้เสม็ด แต่เป็นการลักลอบใช้ประโยชน์เนื่องจากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

                       2.3) วัตถุดิบ เป็นแหล่งกระจูดซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับทำหัตถกรรมเสื่อของชุมชนทะเลน้อย

                       2.4) คมนาคม การใช้เส้นทางน้ำระหว่างชุมชนที่อยู่ตอนเหนือทะเลสาบกับชุมชนทะเลน้อย

                       2.5) หาของป่า พื้นที่พรุเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของครัวเรือนในพื้นที่เนื่องจากเป็นแหล่งพืชผักและสมุนไพร

                       2.6) น้ำ มีการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทคูคลองเพื่อการเกษตรในพื้นที่

                       2.7) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ พื้นที่พรุควนเคร็งที่เป็นทุ่งหญ้ามีพื้นที่บริเวณกว้างเนื่องจากยังไม่มีการฟื้นตัวของป่าไม้ถูกชุมชนใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

                

        1.3.8 เกาะกระ

                         หมู่เกาะกระเป็นหมู่เกาะเดียวของจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากแผ่นดิน ประมาณ 350 กิโลเมตร เมื่อวัดในแนวตรงจากบริเวณอำเภอปากพนัง มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,337.5 ไร่ ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 3 เกาะ ได้แก่ เกาะกระใหญ่ เกาะกลาง (เกาะหลาม) เกาะเล็ก (เกาะบก) และกองหินขนาดเล็กอีก 1 กอง เรียกว่า หินเรือ  ซึ่งมีส่วนยอดโผล่น้ำไม่มากนัก

                         

ในจังหวัดนครศรีธรรมราช